จังหวัดสระแก้ว

จังหวัดสระแก้ว

ตราประจำจังหวัดสระแก้ว
 
Òคำอธิบาย
Ò1.  ภาพพระอาทิตย์ยามรุ่งอรุณ หมายถึง การที่จังหวัดสระแก้วตั้งอยู่ทางทิศบูรพา
Ò2.  ภาพโบราณสถานปราสาทเขาน้อยสีชมพู เป็นโบราณสถานที่สำคัญในเขตจังหวัดสระแก้ว
3. ภาพพระพุทธรูปปางสรงน้ำสรีระ  ประทับยืนบนดอกบัว เป็นพระพุทธรูปประจำจังหวัด เพื่อเป็นศูนย์รวมจิตใจ และเป็นนิมิตรหมายแห่งความ  ชุมชื่น  ร่มเย็น
Ò
คำขวัญประจำจังหวัด
ชายแดนเบื้องบูรพา  ป่างามน้ำตกสวย  มากด้วยรอยอารยธรรมโบราณ ย่านการค้าไทย - เขมร
 
 
Òต้นไม้ประจำจังหวัด มะขามป้อม


ลักษณะภูมิศาสตร์

Òที่ตั้งจังหวัดสระแก้วอยู่ภาคตะวันออกของประเทศไทย มีพรมแดนติดต่อกับประเทศกัมพูชาทางทิศตะวันออกยาวประมาณ 165 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพมหานครโดยทางรถยนต์ 236 กิโลเมตร
Òทิศเหนือ ติดกับจังหวัดบุรีรัมย์และนครราชสีมา
Òทิศใต้ ติดกับจังหวัดฉะเชิงเทราและจันทบุรี
Òทิศตะวันออก ติดกับประเทศกัมพูชา
ทิศตะวันตก ติดกับจังหวัดปราจีนบุรี


Ò
สถานที่ติดต่อ
 
Òสำนักงานจังหวัดสระแก้ว ศาลากลางจังหวัดสระแก้ว ตำบล ท่าเกษม อำเภอ เมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว 27000 โทรศัพท์ 0-3742-5126 MOI 32329,32339

ชนกลุ่มน้อยในจังหวัดสระแก้ว
 
Òกวยหรือกูย อาศัยอยู่ที่บ้านฝักมีด ต.คลองหินปูน อ.วังน้ำเย็น หมู่ 6 และ หมู่ 10 ต.เขาสามสิบ อ.เขาฉกรรจ์ และบ้านน้อยละลมติม ต.โคกสูง กิ่ง อ.โคกสูง บ้านกุดเตย ต.ตาพระยา อ.ตาพระยา ชนพวกนี้แต่เดิมอาศัยอยู่ใน จ.สุรินทร์ แล้วอพยพเข้ามาอยู่ใน จ.สระแก้ว เป็นชนกลุ่มน้อยที่รักษาวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิมของตนไว้ ชอบความเป็นอิสระ ไม่ชอบความวุ่นวาย ใจบุญสุนทาน ภาษากวยหือกูย เป็นภาษาหนึ่งในตระกูลภาษามอญ-เขมร (ออสโตรเอเชียติก) คำส่วนมากเป็นคำพยางค์เดียว เช่น แซร แปลว่า นา จึ แปลว่า ไป ผืด แปลว่า ใหญ่ แจห์ แปลว่า ยา


Òดอกไม้ประจำจังหวัด ดอกแก้ว
ลักษณะภูมิศาสตร์

ที่ตั้งจังหวัดสระแก้วอยู่ภาคตะวันออกของประเทศไทย มีพรมแดนติดต่อกับประเทศกัมพูชาทางทิศ
ตะวันออกยาวประมาณ 165 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพมหานครโดยทางรถยนต์ 236 กิโลเมตร
ทิศเหนือ ติดกับจังหวัดบุรีรัมย์และนครราชสีมา
ทิศใต้ ติดกับจังหวัดฉะเชิงเทราและจันทบุรี
ทิศตะวันออก ติดกับประเทศกัมพูชา
ทิศตะวันตก ติดกับจังหวัดปราจีนบุรี

สถานที่ติดต่อ
สำนักงานจังหวัดสระแก้ว ศาลากลางจังหวัดสระแก้ว ตำบล ท่าเกษม อำเภอ เมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว 27000 โทรศัพท์ 0-3742-5126 MOI 32329,32339

   ชนกลุ่มน้อยในจังหวัดสระแก้ว

กวยหรือกูย อาศัยอยู่ที่บ้านฝักมีด ต.คลองหินปูน อ.วังน้ำเย็น หมู่ 6 และ หมู่ 10 ต.เขาสามสิบ อ.เขาฉกรรจ์ และบ้านน้อยละลมติม ต.โคกสูง กิ่ง อ.โคกสูง บ้านกุดเตย ต.ตาพระยา อ.ตาพระยา ชนพวกนี้แต่เดิมอาศัยอยู่ใน จ.สุรินทร์ แล้วอพยพเข้ามาอยู่ใน จ.สระแก้ว เป็นชนกลุ่มน้อยที่รักษาวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิมของตนไว้ ชอบความเป็นอิสระ ไม่ชอบความวุ่นวาย ใจบุญสุนทาน ภาษากวยหือกูย เป็นภาษาหนึ่งในตระกูลภาษามอญ-เขมร (ออสโตรเอเชียติก) คำส่วนมากเป็นคำพยางค์เดียว เช่น แซร แปลว่า นา จึ แปลว่า ไป ผืด แปลว่า ใหญ่ แจห์ แปลว่า ยา

สถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์

ปราสาทเขาน้อยสีชมพู 
ตั้งอยู่ในวัดเขาน้อยสีชมพู ตำบลคลองน้ำใส ห่างจากตัวอำเภออรัญประเทศไปทางทิศใต้ประมาณ 12 กิโลเมตร โบราณสถานตั้งอยู่บนยอดเขาน้อยซึ่งเป็นเขาหินปูนสูงจากพื้นประมาณ 130 เมตร มี
บันไดทางขึ้น 254 ขั้น แล้วเดินขึ้นต่อไปไม่ไกลก็จะถึงบริเวณตัวปราสาท หรือ สามารถไปทางรถ
โดยผ่านวัดเขาน้อยสีชมพู ไปตามทางอ้อมเขาประมาณ 1
กิโลเมตร เดินเท้าต่อขึ้นไปอีกประมาณ 250 เมตร สันนิษฐานว่า ปราสาทนี้สร้างในพุทธศตวรรษที่ 12 และมีการบูรณะปฏิสังขรณ์ในพุทธ
ศตวรรษที่ 15 และคงความสำคัญจนถึงพุทธศตวรรษที่ 16 เชื่อว่าเป็นศาสนสถานในศาสนาฮินดู
ประกอบด้วยปรางค์ 3 หลังคือ ปรางค์ทิศเหนือ ปรางค์องค์กลาง และปรางค์ทิศใต้ แต่คงเหลือ
เพียงปรางค์องค์กลางเท่านั้นที่ยังคงสภาพค่อนข้างสมบูรณ์
ส่วนปรางค์ทางทิศเหนือและวิหารทิศใต้เหลือเพียงฐานเท่านั้น ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2478 ปราสาทเขาน้อยได้
รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติจากกรมศิลปากร และมีการสำรวจขุดพบโบราณวัตถุ
จำนวนมาก เช่น โบราณวัตถุทำจากโลหะ  เครื่องปั้นดินเผา ทับหลังหินทราย 5 ชิ้น และค้นพบแผ่น
จารึกบ่งบอกถึงอายุการสร้างปราสาทเรียกว่า จารึกเขาน้อย และทับหลังหินทรายแบบสมโบร์ไพรกุกอายุ
ประมาณพุทธศตวรรษที่ 12 ศิลาจารึกระบุมหาศักราช  559 ตรงกับ พ.ศ. 1180 ซึ่งเป็นจารึกที่ระบุศักราช
เก่าที่สุดในประเทศ โบราณวัตถุต่าง ๆ ที่ได้จากการขุดค้นปัจจุบันเก็บรักษาและตั้งแสดงอยู่ที่
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติปราจีนบุรีการเดินทาง จากถนนทหารร่วมจิตร ผ่านวัดชนะไชยศรี ตามทาง
หมายเลข 3067 ไปประมาณ 500 เมตร เลี้ยวซ้ายไป 12 กิโลเมตร ผ่านด่านตรวจนาดง วัดป่าอรัญวาสี จะ
เห็นวัดเขาน้อย(สีชมพู) อยู่ทางขวามือ ขับเลยวัดไปจนถึงทางแยก เลี้ยวขวาอ้อมไปตามทางขึ้นเขา
ประมาณ 1 กิโลเมตร มีที่จอดรถขนาดพอประมาณ แล้วเดินเท้าต่อขึ้นไปประมาณ 250 เมตร




เว็บไซต์จังหวัดสระแก้ว  www.sakaeo.go.th




บรรณานุกรม




จังหวัดสระแก้ว.  (2550). ค้นคืนเมื่อ  กรกฎาคม,  13,  2554
              http://www.sakaeo.go.th/chapter/logo.htm